ใส่ใจเพื่อ บำรุงใจ
การดูแลร่างกายสม่ำเสมอจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ในผู้ป่วยโรคหัวใจอาจต้องปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการออกกำลัง เพื่อให้ปลอดภัยทั้งกายและสุขภาพหัวใจ เพื่อเพิ่มเติมความฟิตให้ร่างกาย ทำได้ง่าย ๆ เพียง
-
ใส่ใจการกิน
เลือกและลดอาหารที่มีปริมาณโซเดียมมาก คือ ลดเกลือในอาหาร “ให้ลดการรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม ลดการเติมเกลือในอาหารจานโปรด” ร่างกายจะต่อต้านโซเดียมหรือความเค็มด้วยการดูดซึมน้ำเข้ากระแสเลือดมากขึ้น เมื่อปริมาณเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น หัวใจก็ต้องทำงานหนักไปด้วย
-
ใส่ใจร่างกาย
ขณะออกกำลังกาย กล้ามเนื้อหัวใจจะทำงานหนักกว่ากล้ามเนื้อแขนขาถึง 2 เท่า การออกกำลังกายแบบเบา ๆ เช่น การเดินหรือขี่จักรยานถือว่าเหมาะสมและสามารถทำได้ -
ใส่ใจการนอน
พักผ่อนให้เพียงพอ ปัจจุบันพบว่ามีหนุ่มสาวในช่วงอายุ 24 – 32 ปีเกือบ 20% เป็นโรคความดันโลหิตสูง แม้อาการกำเริบไม่บ่อย แต่มีโอกาสทำให้หัวใจล้มเหลวได้ทุกเมื่อ ดังนั้นควรแบ่งเวลานอนให้ได้ 6 – 8 ชั่วโมง เพราะการอดนอนบ่อย ๆ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อหัวใจ
-
ใส่ใจจิตใจ
ทำจิตใจให้สงบ ช่วยลดความเครียดได้ เพราะหากเครียดบ่อย ๆ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมามาก หัวใจจะเต้นเร็ว
-
ความดันโลหิตสูงขึ้น ฮอร์โมนตัวนี้จะเป็นศัตรูตัวฉกาจของหลอดเลือดแดง ทำให้เลือดลำเลียงสารอาหารไปยังอวัยวะในร่างกายยากขึ้น ฝึกนั่งสมาธิทุกวัน หรือเล่นโยคะทุกสัปดาห์เป็นเวลา 3 เดือน จะช่วยให้ฮอร์โมนความเครียดลดลง และช่วยการไหลเวียนเลือดได้ดีขึ้น